เรานำคอลัมน์ดีๆ จากคุณมงคล ไตรบัญญัติกุล มาลงให้อ่านกัน
ปลากัดไทย (Siam Fighting Fish)
โดย
นายมงคล ไตรบัญญัติกุล
--------------------------------------------------------------------------------
ชื่อสามัญ Siamese Fighting Fish
ถิ่นกำเนิด เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ลักษณะ ลำตัวเพรียวยาวและแบนข้าง เกล็ดเล็กละเอียด ครีบและลำตัวมีสีแตกต่างกับออกไป ตัวผู้จะสวยงามและมีสีสดกว่าตัวเมีย
ขนาด เฉลี่ย 6 ซม.
นิสัย ก้าวร้าวดุร้ายมาก
อาหาร กินอาหารทุกชนิด
การแพร่พันธุ์ วางไข่โดยก่อหวอดลอยอยู่ตามผิวน้ำ
ปลากัดเป็นปลาพื้นเมืองของไทย อาศัยอยู่ตาม หนอง - คลอง - บึง และตามทุ่งนา ปลากัด เราสามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ปลากัดหม้อ ปลาป่า ปลากัดจีน
ปลากัดหม้อ เป็นปลาที่ตัวโต หัวโต ปากใหญ่ และตัวใหญ่ และสามารถกัดได้ ทรหดยิ่งกว่าพันธุ์อื่นๆ
ปลากัดป่า เป็นปลาที่ตัวเล็กกว่าพันธุ์อื่นๆ ลักษณะตัวค่อนข้างยาว ว่องไว แต่กัดไม่ทน
ปลากัดจีน เป็นปลาที่ได้นำมาพัฒนาสายพันธุ์ จน จนได้ปลาที่มีความสวยงามมาก เป็นปลาที่มีลำตัวโต ครีบและหางยาว สีสันสวยและมีสีหลากหลาย กว่าพันธุ์อื่นๆ
ปลากัด มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Betta splendens และมีชื่อสามัญว่า Siamese Fighting Fish เป็นปลาพื้นเมืองของไทยที่นิยมเพาะเลี้ยงเป็นเวลานานแล้ว ทั้งนี้เพื่อไว้ดูเล่นและเพื่อกีฬากัดปลาและเป็นที่รู้จักกันดีในต่างประเทศมานานเช่นกัน ปัจจุบันประเทศไทยมีการเพาะเลี้ยงปลากัดกันแพร่หลาย เนื่องจากเป็นปลาที่เลี้ยงและเพาะพันธุ์ได้ง่าย จึงเหมาะสมสำหรับผู้ที่หัดเริ่มเลี้ยงปลา ต้องการดูแลเอาใจใส่ไม่มากนักและไม่จำเป็นที่ต้องเปลี่ยนน้ำบ่อยมาก เนื่องจากมีอวัยวะช่วยหายใจพิเศษที่เรียกว่า labyrinth โดยทำให้สามารถดึงออกซิเจนจากอากาศได้ ในธรรมชาติแล้วพบได้ทั่วไปในน้ำที่นิ่ง หรือน้ำที่มีออกซิเจนต่ำ นอกจากนั้นพบในนาข้าว และกระจายทั่วไปในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ปลากัดเลี้ยงมีอายุเฉลี่ย 2 ปีหรือน้อยกว่า
ปลากัดพันธุ์ดั้งเดิมในธรรมชาติ มีสีน้ำตาลขุ่นหรือสีเทาแกมเขียว มีลายตามตัว ครีบ และหางสั้น ปลาเพศผู้มีครีบและหางยาวกว่าเพศเมียเล็กน้อย จากการเพาะพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ติดต่อกันมานาน ทำให้ได้ปลากัดที่มีสีสวยงามหลายสี อีกทั้งลักษณะครีบก็แผ่กว้างใหญ่สวยงามกว่าพันธุ์ดั่งเดิมมาก และจากสาเหตุนี้ทำให้มีการจำแนกพันธุ์ปลากัดออกไปได้เป็นหลายชนิด เช่น ปลากัดหม้อ ปลากัดทุ่ง ปลากัดจีน ปลากัดเขมร เป็นต้น การแพร่กระจายของปลากัดพบทั่วไปทุกภาคของประเทศไทย อาศัยอยู่ในอ่างเก็บน้ำ ทะเลสาบ หนอง บึง แอ่งน้ำ ลำคลองฯลฯ
ในการเลี้ยงปลากัดเพื่อการต่อสู้ มีการคัดเลือกพันธุ์ให้มีคุณสมบัติเฉพาะที่สามารถใช้ในการต่อสู้ โดยเริ่มต้นจากการรวบรวมปลาจากแหล่งน้ำธรรมชาติเรียกกันว่า "กัดป่า หรือ กัดทุ่ง" โดยมีลำตัวค่อนข้างเล็กบอบบาง สีน้ำตาลขุ่น หรือเทาแกมเขียว มีการนำมาเพาะเลี้ยงและคัดพันธุ์หลายชั่วอายุ จนได้ปลาที่มีรูปร่างแข็งแรง ลำตัวหนาและใหญ่ขึ้นเพื่อใช้ในกีฬากัดปลาซึ่งนิยมเรียกปลากัดชนิดนี้ว่า "กัดเก่ง" นอกจากนั้นปลากัดไทยนี้ยังได้มีการพัฒนาสายพันธุ์เพื่อให้มีสีสันสวยสด มีผู้เลี้ยงปลากัดหลายรายได้มีการพัฒนาปลากัดที่ได้จากการคัดพันธุ์และผสมข้ามพันธุ์ปลากัด โดยเน้นความสวยงามเพื่อเลี้ยงไว้ดูเล่น โดยคัดพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาที่มีครีบยาว สีสวย ซึ่งนิยมเรียกปลากัดลักษณะเช่นนี้ว่า ปลากัดจีน หรือ ปลากัดเขมร ซึ่งต่างประเทศรู้จัดปลากัดในนาม Siamese fighting fish
ในปัจจุบัน การพัฒนาสายพันธุ์ปลากัดกำลังเป็นที่ยอมรับ และได้รับความนิยมจากนักเลี้ยงปลากัดเพื่อความสวยงาม แทบไม่น่าเชื่อเลยว่า ปัจจุบันนี้ ปลากัดมีสีสันสวยงามมากตั้งแต่ สีเหลืองทั้งตัว สีฟ้า Half moon มีเรื่องอ้างอิงกันมาถึงการพัฒนาสายพันธุ์ปลากัด โดยใช้สภาพแวดล้อมเป็นตัวเหนี่ยวนำ ด้วยมีความเชื่อว่า ปลาที่มีสีสันสวยงามต่าง ๆ นั้น ส่วนหนึ่งมาจากการถ่ายทอดความรู้สึกของเพศเมีย ไปยังลูกปลา ได้มีการนำเทคนิคเหล่านี้มาใช้ในบรรดานักเพาะปลาทั้งหลายโดยการวาดรูปปลากัดที่มีสีสรรตามที่ต้องการ เช่น สีเหลืองทั้งตัว ตั้งวางโดยรอบปลาเพศเมียในระหว่างที่ทำการเทียบคู่นั้น วิธีการนี้เรียกว่า Pseudo-breeding technique ถึงแม้ว่าจะไม่มีการพิสูจน์ออกมาทางวิชาการแต่ก็ได้รับการยืนยันจากนักเพาะเลี้ยงทั้งหลายว่า พบว่าคอกหนึ่ง ๆ ที่ได้ลูกปลาออกมานั้นจะมี 1 - 2 ตัวที่มีลักษณะเหมือนกับภาพที่วาดไว้ สีสันความงามของปลากัดสามารถแบ่งออกเป็นแบบต่าง ๆ ดังนี้
สีเดียว (Solid Colored Betta) เป็นสีเดียวทั้งครีบและตัว
สีผสม (Bi-colored Betta) ส่วนใหญ่จะมี 2 สีผสมกัน
สีผสมเขมร (Cambodia Colored Betta)
ลายผีเสื้อ (Butterfly Colored Betta)
ลายผีเสื้อเขมร (Combodian Butterfly Colored Betta)
ลายหินอ่อน (Marble Colored Betta)
รูปแบบของปลากัดไทยยังมีการแบ่งออกเป็นรูปแบบต่าง ๆ ดังนี้
รูปทรงปลาช่อน มีลำตัวยาวและหัวเหมือนปลาช่อน หัวใหญ่กว่าท้องเมื่อมองจากด้านบน รูปร่างเพรียว
รูปแบบปลาหมอ ตัวจะสั้นและค่อนข้างอ้วน รูปทรงค่อนข้างกว้าง
รูปแบบปลากราย หน้าเชิด ลำตัวตรง รูปทรงค่อนข้างเป็นรูปสี่เหลี่ยม มองด้านบนจะเห็นว่ารูปทรงผอมบาง มีครีบอกและครีบก้นยาว
รูปแบบปลาตะเพียน เป็นลูกผสมลำตัวป้อม ครีบยาวสวยงาม